เหตุใดจึงจำเป็นที่จะต้องลงทะเบียนโดรนด้วย

การบินโดรนนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับการขับรถยนต์ คนขับรถทุกคนก็ต้องมีใบขับขี่ โดยที่ในกรณีของโดรนนั้นเราจำเป็นต้องมีใบขับขี่ด้วย จำเป็นต้องทำเรื่องขออนุญาตให้ถูกต้อง มิฉะนั้นจะมีโทษฝ่าฝืนตามกฎหมายกำหนด
ในกรณีที่ฝ่าฝืนบินโดรนโดยไม่ทำการลงทะเบียน ไม่ว่าจะเป็นโดรนของเล่นหรือโดนติดกล้องอาทิ DJI ก็ดี จะถือว่าผิดตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2479 มาตรา 78 ที่ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
เพราะฉะนั้นเราจึงควรลงทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งทุกวันนี้การลงทะเบียนโดรนก็สามารถทำออนไลน์ได้อย่างสะดวกสบาย ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปยังศูนย์ราชการเพื่อเดินเรื่องใดๆ ทั้งสิ้น

過去にドローンを未申請で飛行させ罰則を受けた実例については下記の記事をご覧ください。

ドローンに関する法律を知りたい方はこちらの記事をご覧ください。

สิ่งที่ต้องใช้ในการลงทะเบียนโดรน

การลงทะเบียนโดรนทางออนไลน์นั้นหลัก ๆ เราต้องทำการลงทะเบียนกับ 3 ที่ ซึ่งนั่นก็คือการลงทะเบียนโดรนกับสำนักงาน กสทช. สำนักงานการบินพลเรือน และซื้อประกันภัยโดรนกับบริษัทประกัน

กสทช. คือใคร

กสทช. ย่อมาจาก สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือตัวย่อภาษาอังกฤษ NBTC เป็นองค์กรอิสระของรัฐ ทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่วิทยุและอื่น ๆ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องโดนตรงกับการบินโดรนเพราะโดรนต้องใช้คลื่นความถี่ในการควบคุมด้วยรีโมตนั่นเอง เพราะฉะนั้นการขึ้นทะเบียนกับทาง กสทช. เป็นการขึ้นทะเบียนขออนุญาตใช้คลื่นความถี่

สำนักงานการบินพลเรือน คือใคร

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย หรือชื่อย่อภาษาอังกฤษคือ CAAT เป็นหน่วยงานอิสระของรัฐบาล มีหน้าที่กำหนด ควบคุมและตรวจสอบการบินพลเรือนของไทย โดยที่โดรนนั้นชื่ออย่างเป็นทางการคือ อากาศยานไร้คนขับ เพราะฉะนั้นจำเป็นต้องมีการขึ้นทะเบียนผู้บังคับอากาศยานโดรน

ประกันภัยโดรน

ในการลงทะเบียนกับทั้งทาง กสทช. และ CAAT จำเป็นต้องมีการทำประกันภัยเป็นเงื่อนไขบังคับ โดยต้องมีวงเงินประกันความรับผิดต่อบุคคลภายนอกที่ขั้นต่ำ 1,000,000 บาท

ขั้นตอนการลงทะเบียนกับ กสทช.

  1. เข้าไปที่เว็บไซต์ ของNBTCเพื่อทำการสร้างยูสเซอร์เนมเสียก่อน
  2. ไปที่เมนูทางขวาบน “ลงทะเบียนผู้ใช้งาน” เลือก “ผู้มีสัญชาติไทย” ในขั้นตอนนี้จำเป็นต้องใช้เบอร์โทรศัพท์มือถือเพื่อขอรหัส OTP
  3. เมื่อทำการกรอกข้อมูลและลงทะเบียนเสร็จแล้ว ให้ทำการล็อกอิน ต่อไปคือขั้นตอนการยื่นคำขออนุญาต โดยกดที่เมนู “ยื่นคำขออนุญาตฯ” ตรงด้านบน แล้วเลือก “คำขออนุญาตขึ้นทะเบียนอากาศยานไร้คนขับหรือโดรน” และ “ขอขึ้นทะเบียนใหม่ (คท. 30)”
  4. ในขั้นตอนนี้เราสามารถตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ ที่เรากรอกในขั้นตอนสมัครยูสเซอร์เนมได้ เมื่อไม่มีข้อมูลผิดพลาดให้เลื่อนลงไปที่หัวข้อ “คำขอใบอนุญาต / License Request”
  5. ให้เราเลือกช่องตามจริง โดยในหัวข้อบทความนี้เราจะพูดถึงเฉพาะกรณีที่ “ซื้อจากร้านค้า” เมื่อเลือกช่องนี้แล้วให้กรอก “ชื่อร้านค้า” และ “ลงวันที่ ตามใบเสร็จ หรือ ใบกำกับภาษี”
  6. เลื่อนลงมาด้านล่างจะเจอกับหัวข้อต่อไป “ข้อมูลอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก” โดยให้เรากรอกหมายเลขประจำเครื่องหรือ Serial number ลงไปแล้วกดเครื่องหมายแว่นส่อง โดยปกติแล้วถ้าเป็นโดรนที่ซื้อมาจากร้านค้า เมื่อเรากรอกข้อมูลไปแล้วชื่อแบรนด์ รุ่น และ NBTCID จะปรากฏขึ้นโดยทันที ส่วน “อุปกรณ์ที่ติดตั้ง (ถ้ามีโปรดระบุ)” ให้เราระบุข้อมูลเพิ่มเติมได้ อาทิ 4 PROPELLERS, BATTERY, CAMERA AND REMOTE CONTROLLER เป็นต้น
  7. เลือกคลื่นความถี่และกำลังส่งออกตามจริง รวมไปถึงกรอกข้อมูลของยี่ห้ออุปกรณ์ควบคุมการบิน และ “หมายเลขประจำเครื่องควบคุมการบิน” หรือ Serial number ด้วย ถ้าเราซื้อเป็นเซ็ตของ DJI ที่มีพร้อมทั้งรีโมตและโดรน ในช่อง “อุปกรณ์ควบคุมการบิน ตราอักษร” ว่า DJI ได้เลย
  8. เลือกวัตถุประสงค์ของการใช้อากาศยานตามจริง โดยในบทความนี้ได้เลือกวัตถุประสงค์ 3 ข้อแรกคือ เพื่อการเล่นเป็นงานอดิเรก, เพื่อรายงานเหตุการณ์หรือการจราจร, เพื่อการถ่ายภาพ เป็นตัวอย่าง ซึ่งในขั้นตอนสุดท้ายของการนำส่งเอกสารนั้นอาจมีวัตถุประสงค์บางอย่างที่ต้องขอเอกสารพิเศษเพิ่มเติมด้วย
  9. ขั้นตอนสุดท้ายคือการนำส่งเอกสาร มีดังต่อไปนี้ (แต่ละไฟล์ห้ามมีขนาดเกิน 1MB)
    • สำเนาบัตรประชาชน
    • รูปถ่ายโดรนให้เห็นตัวเครื่อง
    • รูปถ่ายโดรน ให้เห็น serial number ละ QR Code/Bar Code อย่างชัดเจน
    • รูปถ่ายของรีโมต ให้เห็น serial number ละ QR Code/Bar Code อย่างชัดเจน
    • เอกสารข้อมูลทางเทคนิคของโดรน ถ้ามีภาพคู่มือก็ถ่ายภาพจากคู่มือ หรือสามารถไปดาวน์โหลดที่เว็บไซต์ของผู้จัดจำหน่ายโดรนได้
    • ในกรณีที่มอบอำนาจสมัครแทนผู้อื่น ให้แนบหนังสือมอบอำนาจและเอกสารที่จำเป็นด้วย
    • ใบเสร็จรับเงิน หรือ ใบกำกับภาษี ในกรณีที่ไม่มีใบเสร็จให้ทำการติดต่อร้านที่ซื้อมาอีกครั้งเพื่อขอใบเสร็จใหม่ เพราะนี่คือเงื่อนไขบังคับ มิฉะนั้นจะไม่สามารถขึ้นทะเบียนโดรนได้
  10. สุดท้าย เมื่ออ่านรายละเอียดข้อมูลต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว ให้กดเครื่องหมายถูกที่ “ฉันได้อ่านและยอมรับข้อตกลง” แล้วทำการนำส่งข้อมูลต่อไป เราสามารถตรวจสอบสถานะทางอีเมลที่ลงทะเบียนไว้กับทาง กสทช. ได้เรื่อย ๆ รวมไปถึงสามารถเลือกหมวดเมนู “ติดตามสถานะคำขอ” จากหัวข้อ “ยื่นคำขออนุญาตฯ” ด้านบน เพื่อคอยเช็คสถานะได้เรื่อย ๆ ทั้งนี้ทั้งนั้นหากเจ้าหน้าที่ต้องการเอกสารเพิ่มเติม จะมีการแจ้งรายละเอียดในนี้ โดยปกติแล้วการลงทะเบียนโดรนทางออนไลน์กับทาง กสทช. ใช้เวลาภายใน 7 วันทำการ
  11. เมื่อได้รับการยืนยันแล้วให้ชำระเงินค่าขึ้นทะเบียนตามรายละเอียดที่แจ้งไว้

ขั้นตอนการลงทะเบียนกับการบินพลเรือน CAAT

  1. เข้าไปที่เว็บไซต์ CAATเพื่อทำการสร้างยูสเซอร์เนมเสียก่อน
  2. อ่านเงื่อนไขและยอมรับเงื่อนไขตั้งแต่ข้อที่ 1 ถึง 3 เพื่อทำการลงทะเบียนและสร้างไอดีต่อไป
  3. เมื่อลงทะเบียนเสร็จแล้วให้ทำการล็อกอิน จากนั้นที่เมนูด้านบนให้คลิกที่ “บุคคลธรรมดา(สำหรับคนไทย)” เพื่อทำการขึ้นทะเบียนโดรนสำหรับส่วนบุคคล
  4. กรอกข้อมูลต่าง ๆ ตามจริง ตั้งแต่น้ำหนักของโดรนในหัวข้อ “ประเภทอากาศยาน” และหัวข้อ “ข้อมูลอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก” ตั้งแต่ยี่ห้อ รุ่น น้ำหนักและหมายเลขประจำเครื่องหรือ Serial Number
  5. ในหัวข้อต่อไป ให้เลือกวัตถุประสงค์ของการใช้อากาศยานตามจริง รวมถึงกรอกรายชื่อของผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานไป
  6. ด้านล่างสุดคือการให้กรอกข้อมูลประกันภัยที่เราลงทะเบียนไว้ รายละเอียดเพิ่มเติมจะอยู่ในหัวข้อถัดไป
  7. ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล จากนั้นกด “ขั้นตอนต่อไป” เพื่อทำการนำส่งเอกสาร
  8. โดยในหน้านี้จะมีรายละเอียดของเอกสารต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ดังต่อไปนี้
    • สำเนาบัตรประชาชน
    • รูปถ่ายโดรนให้เห็นตัวเครื่อง
    • รูปถ่ายโดรน ให้เห็น serial number ละ QR Code/Bar Code อย่างชัดเจน
    • รูปถ่ายของรีโมต ให้เห็น serial number ละ QR Code/Bar Code อย่างชัดเจน
    • รายละเอียดกรมธรรม์ของประกันโดรน
      ให้ทำรวมเอกสารทุกอย่างอยู่ใน PDF ฉบับเดียวแล้วทำการนำส่งขึ้นกับทางเว็บไซต์
  9. ขั้นตอนการลงทะเบียนใช้เวลาภายใน 7 วันทำการ เราสามารถดูที่ HISTORY ในหมวด Menu ของทางเว็บไซต์ได้ตลอดเวลาว่าขั้นตอนการลงทะเบียนไปถึงไหน มีเอกสารหรือข้อมูลอะไรที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติมหรือไม่

การสมัครประกันภัยโดรน

เราสามารถสมัครเองทางออนไลน์ได้ หรือในบางกรณีเราก็สามารถสมัครประกันภัยโดรนกับทางร้านที่เราซื้อได้ด้วยเช่นกัน รายละเอียดเรื่องประกันโดรนเพิ่มเติมสามารถอ่านได้ที่นี้ “ประกันภัยโดรนในไทย (รวมปี 2565) PDF

ทำการขออนุญาตเพื่อบินโดรน

การบินโดรนในพื้นที่หวงห้ามมีโทษทั้งจำทั้งปรับ ตาม พรบ.การเดินอากาศ พ.ศ. 2497 เพราะฉะนั้นก่อนบินเราจึงต้องทำความเข้าใจเรื่องเงื่อนไขระหว่างทำการบินให้เรียบร้อยเสียก่อน สามารถอ่านรายละเอียดที่ FAQ ของ CAAT ได้
โดยปกติแล้ว การบินโดรนจำเป็นต้องมีการขออนุญาตดังต่อไปนี้

  1. ขออนุญาตเจ้าของที่ เช่นในกรณีที่ต้องการบินโดรนเพื่อถ่ายภาพตึก ก็ทำเรื่องขออนุญาตกับเจ้าของตึกโดยต้องมีเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษร
  2. ในพื้นที่ควบคุมเช่นพื้นที่ทั่วทุกเขตของ กทม. จำเป็นต้องขออนุญาตเพิ่มเติมกับทางเขตและสถานีตำรวจประจำพื้นที่ หากทำการบินโดยไม่ขออนุญาตก่อนจะมีโทษทางกฎหมาย
  3. หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเรื่องพื้นที่อนุญาตบินให้ติดต่อทาง CAAT เพื่อสอบถามข้อมูลโดยตรงเกี่ยวกับโดรนได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-568-8800 หรืออีเมล uav@caat.or.th

วิธีการขออนุญาตบินโดรน

ศึกษาพื้นที่ห้ามบินโดรน
พื้นที่ห้ามบินจะแบ่งออกเป็นสองเกณฑ์ ได้แก่ พื้นที่สีแดงและพื้นที่สีเหลือง
พื้นที่สีแดง หมายถึง พื้นที่ที่ห้ามทำการบินโดยเด็ดขาด ตัวอย่างเช่นพื้นที่ภายในระยะ 9 กิโลเมตรจากสนามบินและพื้นที่ขึ้นลง รวมไปถึงเขตพระราชวัง
พื้นที่สีเหลือง คือพื้นที่ที่มีการควบคุมแต่ถ้าขออนุญาตก็สามารถบินได้ ตัวอย่างเช่น ในพื้นที่ภายในเขต กทม.
นอกจากนั้นยังมีพื้นที่สีเขียวที่ไม่มีเงื่อนไขบังคับ แค่อาจมีต้องขออนุญาตเจ้าของที่ในพื้นที่ละแวกนั้น เช่นถ่ายโรงงาน ถ่ายบ้านเรือนหรือถ่ายวัด เป็นต้น

ตรวจสอบพื้นที่บินโดรนได้อย่างสะดวกสบายด้วยแอพลิเคชั่น OpenSky

แอพพลิเคชั่น OpenSky เป็นแอพพลิเคชั่นจากทางวิทยุการบินและสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยที่ทำมาเพื่ออำนวยความสะดวกสบายในการขออนุญาตโดรนก่อนขึ้นบิน รวมทั้งยังสามารถตรวจสอบพื้นที่ทำการบินได้อย่างง่ายดายอีกด้วย ว่าในพื้นดังกล่าวนั้นเป็นโซนสีอะไร สามารถทำการบินได้หรือไม่ เป็นต้น

OpenSky: Android , iOS

สำหรับผู้ที่ต้องการจ้างบินโดรน

ตามรายละเอียดเบื้องต้นที่ได้ระบุไว้ แม้การลงทะเบียนโดรนสามารถทำทางออนไลน์ได้ก็ตาม แต่ก็มีขั้นตอนหลายอย่าง ไหนจะต้องเตรียมเอกสารเป็นจำนวนมาก
ถ้าต้องการบินโดรนเพียงครั้งเดียวหรือต้องการถ่ายวีดีโอด้วยโดรนเป็นการเร่งด่วนนั้น ครั้นจะไปซื้อใหม่มาแล้วทำการใช้งานเพียงครั้งเดียวก็ใช่เรื่อง แนะนำให้จ้างนักบินโดรนมืออาชีพเพื่อทำการบินจะสะดวกยิ่งกว่า
แน่นอนว่าทางบริษัทของเราก็รับบินโดรนด้วย ทางเรามีนักบินโดรนมืออาชีพที่พร้อมช่วยงานของท่านได้อย่างราบรื่น หากสนใจสามารถทำการติดต่อได้ที่นี่(CONTACT) / LINE OFFICIAL เลย