หากนำโดรนขึ้นบินในไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตจะเป็นอย่างไร
ปรับปรุงล่าสุด : 2 กรกฎาคม 2565
ในช่วงท้ายของวิกฤตไวรัสโควิด-19 นี้ กรุงเทพ ประเทศไทยได้และมีชาวต่างชาติที่เข้าไทยมาในฐานะนักท่องเที่ยวหรือเนื่องจากงานเพิ่มจำนวนมากขึ้น เป็นเรื่องที่ดีสำหรับทางเราที่มีงานว่าจ้างในการถ่ายทำเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ในนั้นก็มีการสอบถามเกี่ยวกับการนำโดรนขึ้นบินอยู่มาก บทความเรื่องโดรนในอดีตที่เคยเขียนไว้นั้น ได้กล่าวไว้ว่าการจะนำโดรนมาบินในไทยต้องต้องขออนุญาตเจ้าของพื้นที่และ CAAT
ส่วนบทความนี้จะกล่าวถึงว่า หากไม่ทำการขออนุญาตแล้วทำการถ่ายทำด้วยโดรนทางอากาศในไทยนั้นจะมีโทษอย่างไร รวมไปถึงยกตัวอย่างคดีความในอดีตที่เคยเกิดขึ้นแล้วมากล่าวถึง
Table of Contents(もくじ)
ค่าปรับ 300,000 บาทจากการนำขึ้นบินโดยไม่ได้รับอนุญาต
คดีโดรนที่เกิดขึ้นนั้น เกิดขึ้นในเดือนตุลาคม ปี 2560 ในใจกลางกรุงเทพ
เมื่อเดือนสิงหาคม 2560 นาย A ได้ทำการถ่ายทำด้วยโดรน นาย A ได้นำภาพถ่ายและวิดีโอเผยแพร่ลงในโซเชียลมีเดีย (อาทิเช่น Facebook) โดยในช่วงเวลาดังกล่าวเมื่อเดือนสิงหาคม 2560 นั้นไม่มีปัญหาใด ๆ ทว่าเมื่อเข้าสู่เดือนตุลาคมได้มีการติดต่อจาก CAAT (สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย) ด้วยเนื้อหาดังนี้
- ไม่มีใบอนุญาตผู้บังคับอากาศยานโดรน
- ไม่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นบิน
- ขึ้นบินในตอนกลางคืน
- ขึ้นบินในเมืองที่มีคนอยู่มาก
- บินสูงเกิน 90 เมตร
ด้วยการฝ่าฝืน 5 ข้อนี้ทำให้นาย A โดนระวางโทษปรับเป็นเงิน 290,000 บาท นาย A ได้ยอมรับเรื่องที่ว่าตัวเองได้ทำการบินโดยไม่มีใบอนุญาต แต่ไม่คิดว่าจะโดนปรับถึงประมาณ 300,000 บาท
ในตอนนั้น พระราชบัญญัติการเดินอากาศมาตราที่24 “โทษปรับไม่เกิน 40,000 บาท” นาย A ได้ถูกเขตทั้ง 8 เขตปรับเงินสูงสุด 40,000 บาท โดนปรับรวม 40,000 บาท x 8 เขต = 320,000 บาท แต่โดนปรับให้ลดลงเหลือ 290,000บาท
และเพื่อนของนาย A ที่ได้ทำการถ่ายทำด้วยกันก็ถูก CAAT เรียกตัว ทั้งคู่ได้ทำการจ่ายค่าปรับรวม 290,000 บาทด้วยกัน
ข่าวนี้เป็นข่าวชื่อดังที่โทษเกี่ยวกับโดรนเข้มงวดที่สุดในไทย ขอแนะนำว่าการจะนำโดรนขึ้นบินในไทยกรุณาขออนุญาตก่อนทุกครั้ง
ต้นข่าวตามด้านล่างนี้
โทษปรับการถ่ายภาพกลุ่มประท้วงในไทย 75,000 บาท
กลุ่มประท้วงในไทย “ประชาชนปลดแอก” ได้ทำการประท้วงบริเวณถนนราชดำเนินกลาง ช่างภาพของกลุ่มพยายามจะถ่ายทำด้วยโดรน แต่หลังจากที่นำโดรนขึ้นบินได้ถูกปืนต่อต้านโดรนของตำรวจไทยบังคับให้ลงในทันที ซึ่งทางตำรวจได้หาจังหวะที่โดรนกลับไปยังเจ้าของและเข้าจับกุมช่างภาพโดยทันที คนขับที่กลายเป็นคนร้ายนั้น มีใบอนุญาตบังคับโดรนที่ใช้ในการถ่ายทำอยู่ แต่ได้ถูกจับเนื่องจากนำขึ้นบินโดยไม่ได้รับอนุญาต ได้โดนบอกค่าปรับเป็นเงิน 10,000 บาท แต่เนื่องจากสถานที่นั้นอยู่ใกล้เขตพระราชฐานจึงมีโทษเพิ่ม สุดท้ายแล้วจึงโดนปรับเป็นเงินทั้งสิ้น 75,000 บาท
โทษฝ่าฝืนโดรนอื่น ๆ
- นำโดรนขึ้นบินบริเวณสนามบินดอนเมือง จำคุก 6 เดือนและปรับเป็นเงิน 10,000 บาท
- ในปี 2560 ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ชาวไทย 6 คนในงานและบริเวณใกล้เคียงได้นำขึ้นบินโดนไม่รับอนุญาตและถูกจับกุม
- นำโดรนขึ้นบินในบริเวณใกล้เคียงสนามบินหาดใหญ่ ภายหลังประมาณสามเดือนตำรวจได้ทำการตรวจสอบและเข้าจับกุม
- นำโดรนขึ้นบินเกิน 90 เมตรโดยไม่มีใบอนุญาต โดนปรับเป็นเงิน 90,000 บาท
นอกจากนั้นก็มีคดีเกี่ยวกับโดรนที่ถูกจับกุมและถูกปรับอยู่มาก การนับโดรนขึ้นบินในไทยโดยคิดว่า “”ไม่เป็นไรหรอก”” ถ้าไม่ได้เตรียมใจจะจ่ายค่าปรับไว้นั้นหลีกเลี่ยงไว้ก็จะดีกว่า แทนที่จะยอมจ่ายค่าปรับ สู้นำขึ้นบินอย่างถูกต้องเสียจะดีกว่า
ผู้ที่ทำว่าจ้างกับทางเรานั้นจะจ่ายโดยที่ถูกกว่านั้นมาก ”
การนำโดรนจากญี่ปุ่นมาบินในไทยนั้นต้องดำเนินเรื่องเอกสารอย่างลำบากมาก การนำโดรนขึ้นบินในไทยด้วยเรื่องงานหรือส่วนตัวนั้น กรุณามาปรึกษากับเราได้