ปรับปรุงล่าสุด : 19 ตุลาคม 2566
ในการจะบินโดรนเพื่อถ่ายทำสำหรับที่ไทยนั้น จำเป็นที่จะต้องยื่นเรื่องขออนุญาตหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อทำการถ่ายทำ แน่นอนว่ากับทางญี่ปุ่นเองก็เช่นกัน จำเป็นต้องมีการยื่นเรื่องเพื่อขออนุญาตบินโดรนด้วย และในบทความนี้จะเป็นบทความที่อธิบายเกี่ยวกับกฎระเบียบการบินโดรนของประเทศญี่ปุ่นสำหรับผู้ที่สนใจอยากจะบินโดรนที่ญี่ปุ่นไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องการงานหรืองานอดิเรก
- เมื่อไหร่ที่ต้องมีการขออนุมัติบินโดรนญี่ปุ่น?
- เงื่อนไขการบินโดรนญี่ปุ่นเพิ่มเติมที่คุณควรรู้!
- บทลงโทษ หากไม่มีการปฎิบัติตามกฎและข้อบังคับการใช้งานโดรนญี่ปุ่นที่กำหนด
- การขออนุญาตใช้งานโดรนญี่ปุ่นภายใต้เงื่อนไขพิเศษ
- การลงทะเบียนโดรนญี่ปุ่นเพื่อรับ ID ประจำโดรน
- วิธีการลงทะเบียนใช้งานโดรน
- ทำอย่างไรหากโดรนเกิดเสียหายระหว่างใช้งานที่ญี่ปุ่น?
- สำหรับผู้ที่สนใจบินโดรนที่ญี่ปุ่น
เมื่อไหร่ที่ต้องมีการขออนุมัติบินโดรนญี่ปุ่น?
โดรนหรือเครื่องบินไร้คนขับในที่นี้หมายถึงทั้งเครื่องบิน อากาศยานปีกหมุน (rotorcraft), เครื่องร่อน (glider) หรือ เรือเหาะ (airship) ที่ไม่มีคนขับแต่สามารถทำการควบคุมการบินได้จากระยะไกลหรือผ่านระบบอัตโนมัติ
โดยตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศของประเทศญี่ปุ่นที่ออกมาครั้งแรกเมื่อเดือนธันวาคมปีค.ศ. 2015 เนื้อหาเพิ่มเติมที่ออกมาเมื่อเดือนกันยายนปีค.ศ. 2019 และตามพระราชบัญญัติการบินพลเรือนฉบับแก้ไขปี 2020 ซึ่งออกกฎข้อบังคับมาเพื่อสนับสนุนให้มีการใช้งานโดรนได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น
โดยมีใจความว่า ใครที่ต้องการบินโดรนที่มีน้ำหนักมากกว่า 200 กรัมขึ้นไป ต้องได้รับการอนุญาตจากกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น (Japanese Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism, MLIT) ก่อน ตามกรณีที่ต้องการบินบริเวณที่ใกล้กับสนามบิน ที่อยู่อาศัยที่มีคนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และในกรณีที่ต้องการบินเหนือพื้นดินที่มีความสูงมากกว่า 150 เมตรขึ้นไป
เการขออนุมัติโดรนกรณีที่ 1: ต้องการบินโดรนญี่ปุ่นใกล้น่านฟ้าบริเวณสนามบิน
ข้อที่ต้องระมัดวังเป็นอย่างแรก ๆ เลยก็คือ ผู้ใช้งานไม่สามารถบินหรือบังคับโดรนที่บริเวณเหนือน่านฟ้าใกล้กับสนามบินในประเทศญี่ปุ่นได้ หากไม่ได้รับอนุญาตจาก MLIT ก่อน ไม่ว่าจะเป็น บริเวณสนามบินหรือลานจอดเฮลิคอปเตอร์ต่าง ๆ โดยบริเวณของสนามบินดังกล่าวครอบคลุมสถานที่ ดังต่อไปนี้:
- * สนามบินนิวชิโตเสะ (New Chi-tose Airport)
- ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ (Narita International Airport)
- ท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว (Tokyo International Airport)
- ท่าอากาศยานนานาชาติชูบุเซ็นแทรร์ (Chubu Centrair International Airport)
- ท่าอากาศยานนานาชาติโอซากะ (Osaka International Airport)
- ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ (Kan-sai International Airport)
- ท่าอากาศยานฟูกูโอกะ (Fukuoka Airport)
- ท่าอากาศยานนาฮะ (Naha Airport)
การขออนุมัติโดรนกรณีที่ 2: บินโดรนญี่ปุ่นที่ความสูงเกินกว่าที่กำหนด
โดยทั่วไปแล้ว คุณสามารถบินโดรนในประเทศญี่ปุ่นได้ไม่เกินที่ความสูง 150 เมตรจากพื้นดินหรือสูงกว่าระดับน้ำทะเล แต่ถ้าคุณต้องการที่จะบินโดรนสูงกว่าความสูงที่กำหนดไว้ดังกล่าว จะต้องมีการขออนุญาตกับ MLIT ให้เรียบร้อยก่อนล่วงหน้า
การขออนุมัติโดรนกรณีที่ 3: บินโดรนญี่ปุ่นบริเวณที่อยู่อาศัยซึ่งมีประชากรอยู่อย่างหนาแน่น
การบินโดรนเหนือน่านฟ้าบริเวณที่เป็นที่อยู่อาศัยหรือมีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น (Densely Inhabited Districts, DID) ตามข้อมูลการสำรวจสำมะโนประชากรแห่งชาติของประเทศญี่ปุ่น ไม่สามารถทำได้โดยไม่ได้รับอนุญาตก่อน หากคุณต้องการบินโดรนที่บริเวณเท่านี้จริง ๆ ก็ต้องทำเรื่องขออนุญาตกับทางกระทรวงก่อนล่วงหน้าเช่นกันหมายเหตุ: นอกเหนือไปจากทั้งสามบริเวณและเงื่อนไขดังกล่าว ก็สามารถบินโดรนได้ตามปกติ อย่างไรก็ตาม การบินโดรนยังคงต้องเป็นไปตามเงื่อนไขอื่น ๆ เพิ่มเติมอีกมากมาย ตามรายละเอียดที่จะกล่าวต่อไปนี้
เงื่อนไขการบินโดรนญี่ปุ่นเพิ่มเติมที่คุณควรรู้!
หมายเหตุ: นอกเหนือไปจากทั้งสามบริเวณและเงื่อนไขดังกล่าว ก็สามารถบินโดรนได้ตามปกติ อย่างไรก็ตาม การบินโดรนยังคงต้องเป็นไปตามเงื่อนไขอื่น ๆ เพิ่มเติมอีกมากมาย ตามรายละเอียดที่จะกล่าวต่อไปนี้
- ห้ามบินโดรนในขณะที่มีการดื่มเครื่องดื่มหรือใช้ยาที่ทำให้มีอาการมึนเมา
- ก่อนเริ่มบินโดรน ควรมีการตรวจสอบล่วงหน้าก่อนว่ามีความปลอดภัยและสามารถบินโดรนได้ ถึงจะดำเนินการบินโดรน
- ระมัดระวังในขณะที่บินโดรน โดยไม่ให้การใช้โดรนก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้อื่นหรือสร้างความเสียหายให้กับทรัพย์สินของผู้อื่น
- ห้ามใช้โดรนโดยประมาทและไม่ระมัดระวังอย่างเด็ดขาด
- ใช้โดรนได้แค่ตอนกลางวันเท่านั้น (หากนอกเหนือจากข้อกำหนดนี้ ต้องขออนุญาตจากทางกระทรวงเพิ่มเติม)
- ใช้โดรนในบริเวณที่ผู้ใช้งานยังสามารถมองเห็นอุปกรณ์ได้ โดรนควรอยู่ในระยะสายตาของผู้ใช้งานเท่านั้น (หากนอกเหนือจากข้อกำหนดนี้ ต้องขออนุญาตจากทางกระทรวงเพิ่มเติม)
- ระหว่างการใช้งานโดรนของคุณ ต้องพยายามและระมัดระวังให้มีระยะห่างจากผู้คน อาคาร และทรัพย์สินอื่น ๆ บนภาคพื้นดินอย่างน้อยประมาณ 30 เมตร (หากนอกเหนือจากข้อกำหนดนี้ ต้องขออนุญาตจากทางกระทรวงเพิ่มเติม)
- ห้ามใช้โดรนบินเหนืองานอีเวนต์ที่มีคนร่วมงานเป็นจำนวนมาก (หากนอกเหนือจากข้อกำหนดนี้ ต้องขออนุญาตจากทางกระทรวงเพิ่มเติม)
- ห้ามขนส่งอุปกรณ์ที่เป็นอันตรายด้วยโดรน เช่น สารพิษ ของเหลวที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง หรือสิ่งของที่อาจก่อเหตุให้เกิดระเบิดได้ (หากนอกเหนือจากข้อกำหนดนี้ ต้องขออนุญาตจากทางกระทรวงเพิ่มเติม)
- ห้ามปล่อยสิ่งของใด ๆ ลงมาจากโดรน (หากนอกเหนือจากข้อกำหนดนี้ ต้องขออนุญาตจากทางกระทรวงเพิ่มเติม)
บทลงโทษ หากไม่มีการปฎิบัติตามกฎและข้อบังคับการใช้งานโดรนญี่ปุ่นที่กำหนด
- หากไม่มีการปฏิบัติตามกฎและข้อบังคับในการห้ามบินโดรนในแนวน่านฟ้าใกล้สนามบิน รวมทั้งยังละเมิดข้อบังคับในข้อ 2-10 ภายใต้เงื่อนไขในการบินโดรนญี่ปุ่นที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้ ผู้ใช้งานโดรนอาจถูกปรับเป็นเงินสูงถึง 500,000 เยน (หรือประมาณ 130,000 บาท)
- หากมีการใช้โดรนในขณะที่มีการดื่มเครื่องดื่มหรือใช้ยาที่ทำให้มีอาการมึนเมา ผู้ใช้งานโดรนอาจถูกปรับเป็นเงินสูงถึง 300,000 เยน (หรือประมาณ 77,000 บาท) พร้อมจำคุกเป็นเวลาสูงสุด 1 ปี
หมายเหตุ: การบินเหนือน่านฟ้าในสนามบิน รวมทั้งการฝ่าฝืนเงื่อนไขการบินโดรนญี่ปุ่นในข้อ 5-10 ที่พูดถึงก่อนหน้านี้ จะไม่ครอบคลุมในกรณีที่มีการดำเนินการค้นหา หรือช่วยเหลือโดยรัฐบาลหรือองค์กรที่มีการทำสัญญาสำหรับช่วยเหลือ ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุหรือมีภัยพิบัติเกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดคิด
การขออนุญาตใช้งานโดรนญี่ปุ่นภายใต้เงื่อนไขพิเศษ
หากคุณต้องการใช้งานโดรนในกรณีที่ขับขี่ใกล้กับสนามบิน เหนือบริเวณที่มีคนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น หรือที่ความสูงมากกว่า 150 เมตรขึ้นไป ใช้งานโดรนตอนกลางคืน นอกเหนือระยะสายตา ขนส่ง หรือปล่อยสิ่งของจากโดรน ต้องยื่นเอกสารสมัครเป็นภาษาญี่ปุ่นเพื่อขออนุญาตและได้รับอนุมัติจากกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น (Japanese Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism, MLIT) ก่อน โดยสามารถทำได้ในวันจันทร์ – ศุกร์ ยกเว้นวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
นอกจากนั้นแล้ว การบินโดรนเหนือสถานที่ส่วนตัวอาจถือเป็นการละเมิดทางกฎหมาย เนื่องจากในทางกฎหมายแพ่ง น่านฟ้าก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นเจ้าของของที่ดินนั้น ๆ ด้วย ทำให้เป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องขออนุญาตเจ้าของพื้นที่ก่อนทำการบินโดรน ซึ่งไม่ใช่แค่ในทางกฎหมายเท่านั้น แต่ยังเป็นการขออนุญาตและเคารพวัฒนธรรมของคนญี่ปุ่นเองด้วย ซึ่งบางครั้งคุณก็จะสังเกตได้ว่าจะมีป้ายบอกไว้หากห้ามไม่ให้มีการบินโดรนในบริเวณนั้น โดยตัวอย่างของพื้นที่ส่วนบุคคล ได้แก่ ที่จอดรถ สถานีรถไฟและเส้นทาง ศาลเจ้าและวัดพุทธ พื้นที่ท่องเที่ยว และป่า เป็นต้น
ขั้นตอนการขออนุมัติการใช้งานโดรนในญี่ปุ่นภายใต้เงื่อนไขพิเศษ
หากคุณต้องการขออนุมัติเพื่อใช้งานในกรณีที่กล่าวถึงในข้างต้น ตัวอย่างเช่น
- ต้องการบินโดรนใกล้สนามบิน
- บินโดรนในกรณีฉุกเฉิน
- บินโดรนสูงเกิน 150 เมตร
- บินโดรนเหนือน่านฟ้าของบริเวณที่มีผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่น
- บินโดรนตอนกลางคืน
- บินโดรนไกลกว่าระยะที่สายตามองเห็น
- บินโดรนเพื่อขนส่งวัตถุอันตราย
- บินโดรนเพื่อปล่อยวัตถุ
ต้องขออนุมัติล่วงหน้าได้ที่นี่ DIPS หากคุณประสงค์ที่จะขออนุมัติ สามารถดูตัวอย่างการขออนุมัติได้ที่วิดีโอยูทูป หากคุณต้องการความช่วยเหลือในการขออนุมัติบินโดรนญี่ปุ่นภายใต้เงื่อนไขพิเศษ โปรดติดต่อเรา เราสามารถช่วยคุณได้
การลงทะเบียนโดรนญี่ปุ่นเพื่อรับ ID ประจำโดรน
นอกเหนือไปจากการขออนุมัตใช้งานโดรนกรณีพิเศษและเงื่อนไขการใช้งานโดรนที่คุณควรทราบแล้ว ตามพระราชบัญญัติการบินพลเรือนฉบับแก้ไขปี 2020 ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2022 ได้มีการออกกฎให้ต้องลงทะเบียนสำหรับอากาศยานไร้คนขับได้รับการเพื่อความปลอดภัยและความมั่นคง
ในการใช้งานโดรนที่มากขึ้น โดยให้ผู้ใช้งานโดรนต้องทำการลงทะเบียนเพื่อรับ ID ประจำโดรน
ก่อนหน้านี้โดรนที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 200 กรัมได้รับการละเว้น แต่ปัจจุบันโดรนที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 100 กรัม ได้รับการละเว้นแทน ทำให้โดรนที่มีน้ำหนักมากกว่า 100 กรัมขึ้นไปต้องทำการจดทะเบียนก่อนใช้งาน โดยโดรนที่ไม่สามารถลงทะเบียนได้ จะมีสาเหตุมาจากรายละเอียดดังต่อไปนี้
- เป็นโดรนที่ได้รับแจ้งล่วงหน้าว่าเป็นโดรนที่ถูกผลิตไม่ได้มาตรฐานและมีข้อกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้งานและถูกเรียกคืน
- โดรนที่มีชิ้นส่วนยื่นออกมาเกินความจำเป็นและก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน
- โดรนที่สามารถควบคุมได้ยากจากอุปกรณ์ทางไกล
วิธีการลงทะเบียนใช้งานโดรน
- สมัครเพื่อลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ และคลิกค้นหา Unmanned Aircraft Registration หรือคลิกที่ https://www.ossportal.dips.mlit.go.jp/portal/top/?lang=en
- หลังจากที่สมัครเรียบร้อยแล้วจะเข้าสู่ขั้นตอนของการจ่ายเงิน เมื่อการลงทะเบียนของคุณได้รับการอนุมัติแล้ว
- ราคาอยู่ที่ประมาณ 900 – 2,400 เยนสำหรับโดรนเครื่องแรก และ 890 – 2,000 เยนสำหรับโดรนเครื่องที่สองขึ้นไป โดยราคาแตกต่างกันไปตามวิธีการลงทะเบียนและการยืนยันตัวตน (เช่น ด้วยบัตรหมายเลขบุคคลหรือ gBizID ใบขับขี่ พาสปอร์ต หรือสมัครโดยยื่นเอกสารโดยตรง)
- และเมื่อคุณชำระเงินเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะได้รับรายละเอียดของ ID ประจำโดรนของคุณ
หมายเหตุ: โดรนที่จะทำการลงทะเบียนจะต้องมีระบบฟังก์ชัน remote ID (RID) ที่สามารถส่งผ่านข้อมูลผ่านคลื่นวิทยุได้ ไม่ว่าจะเป็นทั้งแบบภายในและภายนอกตัวโดรน เพื่อที่จะสามารถส่งต่อข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้ง ความเร็ว ความสูง และเวลาการใช้งาน โดยไม่มีการส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้งาน
ทำอย่างไรหากโดรนเกิดเสียหายระหว่างใช้งานที่ญี่ปุ่น?
ในกรณีที่โดรนเกิดขัดข้องในระหว่างการใช้งาน ให้รายงานไปยังสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Civil Aviation Bureau) และให้ข้อมูลกับผู้ผลิตโดรน เพื่อให้ตัวแทนที่ได้รับอนุญาตในญี่ปุ่นช่วยดำเนินการที่จำเป็นต่อให้เหตุผลที่ต้องมีการลงทะเบียนใช้งานโดรนทุกชนิดที่มีน้ำหนักมากกว่า 100 กรัมขึ้นไปก็เพื่อให้สามารถระบุผู้ใช้งานโดรนได้ หากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น เพื่อสามารถค้นหาสาเหตุของปัญหาและเพื่อความปลอดภัยในการใช้งานโดรนที่มากขึ้น และยังป้องกันไม่ให้โดรนที่มีปัญหาเรื่องระบบใช้งานที่ไม่ปลอดภัยไม่ถูกนำไปใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาตก่อนด้วย คุณสามารถดูข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลงทะเบียนใช้งานโดรนญี่ปุ่นได้ที่นี่คำเตือน: หากไม่มีการลงทะเบียนโดรนตามเงื่อนไขดังกล่าว จะถูกปรับ 500,000 เย็นหรือถูกจำคุกสูงสุด 1 ปี
สำหรับผู้ที่สนใจบินโดรนที่ญี่ปุ่น
เนื่องจากการลงทะเบียนนั้นใช้เวลาเยอะมาก หากต้องการจ้างวานบริษัทญี่ปุ่นก็ขอเรียนเชิญให้ติดต่อทางเราได้เลย! เราสามารถจัดเตรียมนักบินโดรนได้ทั่วประเทศญี่ปุ่น พร้อมสำหรับการถ่ายทำทั่วประเทศญี่ปุ่น หากสนใจโปรดติดต่อทางนี้