ปรับปรุงล่าสุด : 22 พฤศจิกายน 2565
การถ่ายทำด้วยโดรนนั้น มีความโดดเด่นที่การถ่ายทำภาพจากมุมสูงที่ผู้บริโภคโดยทั่วไปสามารถหาซื้อได้ โดรนถือเป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมสูงในการถ่ายทำวีดีโอหรือภาพนิ่ง
ปัจจุบันนี้เมื่อโดรนมีขนาดเล็กลงนั้น จึงส่งผลให้ค่าใช้จ่ายจากการถ่ายทำทางอากาศถูกลงกว่าที่ผ่านมาเป็นอย่างมาก(อาทิ การถ่ายทำด้วยเครื่องบินขนาดเล็ก เป็นต้น) และสามารถถ่ายเป้าหมายได้ใกล้ขึ้นมากอีกด้วย เพราะโดรนสามารถบินผ่านที่แคบได้โดยง่าย และเป็นอุปกรณ์ที่ถูกใช้ในการถ่ายทำวีดีโออย่างหนึ่งเลย
บทความนี้ ได้กล่าวถึงโดรนและข้อกำหนดในการบินของโดรน การได้รับใบอนุญาตในการขับโดรน (CAAT) วิธีการทำประกันภัยโดรนและค่าใช้จ่ายในการใช้บริการถ่ายทำโดรนของทางเรา ท่านผู้ที่ประสงค์จะใช้โดรนในไทยกรุณาอ่านจนจบด้วย
【สามารถสอบถามเรื่องราคาและเรื่องอื่น ๆ ได้ทาง LINE เช่นกัน!】
- การถ่ายทำด้วยโดรน (ถ่ายทำทางอากาศ) คือ
- เสน่ห์ของโดรนที่ไม่ได้มีแค่การถ่ายทำทางอากาศเพียงเท่านั้น
- ข้อดีของการถ่ายทำด้วยโดรน
- ข้อกำหนดการถ่ายทำทางอากาศด้วยโดรนในไทย
- ขั้นตอนการลงทะเบียนโดรนโดยละเอียดกับ CAAT และ NBTC รวมถึงการซื้อประกันภัยโดรน
- การยื่นขออนุญาตกับ CAAT / NBTC / ประกันภัยโดรน
- การขึ้นบินในบริเวณที่จำเป็นต้องทำเรื่องขออนุญาต อาทิเช่นบริเวณสนามบิน วัด อื่น ๆ
- ข้อห้ามในการนำโดรนขึ้นบิน
- พื้นที่ห้ามบินในกรุงเทพ/เขตห้ามบินโดรน
- ราคาค่าใช้จ่ายในการถ่ายวีดีโอ / ถ่ายภาพทางอากาศด้วยโดรน
- ลำดับขั้นตอนจนถึงการถ่ายทำด้วยโดรน
- การติดต่อสอบถามการถ่ายวีดีโอ ภาพด้วยโดรน
การถ่ายทำด้วยโดรน (ถ่ายทำทางอากาศ) คือ
การถ่ายทำสิ่งปลูกสร้าง (อาทิเช่น โรงงาน ตึกอาคารและโรงแรม) หรือสถานที่ท่องเที่ยวจากที่สูงบนฟ้า ที่จะเรียกว่า “การถ่ายทำทางอากาศ” ก่อนหน้านี้เคยมีการใช้เครื่องบินขนาดเล็กในการถ่ายทำจึงส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายและเวลาที่สิ้นเปลืองมาก แต่การปรากฎตัวของโดรนทำให้สามารถนำเครื่องขึ้นในที่ใดก็ได้ และเล็กขนาดที่สามารถใส่กระเป๋าจนเพิ่มความอิสระในการถ่ายทำมากขึ้นและค่าใช้จ่ายในการถ่ายทำลดลงเป็นอย่างมาก ทำให้การถ่ายทำทางอากาศมีการใช้โดรนกันมากขึ้น
เสน่ห์ของโดรนที่ไม่ได้มีแค่การถ่ายทำทางอากาศเพียงเท่านั้น
อย่างที่ได้กล่าวไป เพราะเราสามารถใช้โดรนในการตรวจสอบแบบไม่ทำลายตึกอาคารด้วยการติดตั้งกล้องอินฟราเรดไปกับโดรนเพื่อตรวจสอบส่วนที่ไม่เห็นของบริเวณภายนอกโรงงาน อีกทั้งยังมีการใช้งานโดรนเพื่อส่งของได้ และยังเข้าไปยังสถานที่ที่คนเข้าไปไม่ได้ในตอนประสบภัยอีกด้วย
ข้อดีของการถ่ายทำด้วยโดรน
จะขออธิบายว่าทำไมการถ่ายทำด้วยโดรนถึงจำเป็นและมีข้อดีอย่างไร
วีดีโอน่าประทับใจและสามารถมองไปได้โดยทั่ว
หนึ่งในปัจจัยสำคัญในวีดีโอหรือการนำเสนอจากการถ่ายทำด้วยโดรนนั้นคือการไม่ทำให้ผู้ชมรู้สึกเบื่อหน่าย มนุษย์นั้นเมื่อเห็นมุมมองที่โดยปกติแล้วไม่สามารถเห็นได้จะเกิดความประทับใจขึ้น การที่ผู้ชมสามารถดูวีดีโอได้อย่างไม่เบื่อหน่ายนั้น ทำให้เวลาที่อยู่กับวีดีโอนานขึ้นและฝังลงไปในความทรงจำได้ง่ายขึ้น ทำให้เข้าใจถึงสิ่งที่จะสื่อภายในวีดีโอนั่นส่งไปถึงได้ง่ายขึ้น
นอกจากนั้นแล้ว เนื่องจากเป็นการถ่ายเป้าหมายจากมุมสูง ทำให้สื่อถึงสถานที่และสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดได้ภายในฉากเดียว มันคือภาพฉากที่หากไม่มีโดรนแล้วจะไม่สามารถถ่ายได้ ขอแนะนำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการถ่ายทำวีดีโอเลย
ถ่ายทำในเพดานบินต่ำ / ที่แคบได้
เครื่องบินขนาดเล็กนั้นไม่สามารถขยับได้อย่างละเอียดอ่อน และยากในการบินในเพดานบินต่ำและที่แคบ แต่ถ้าเป็นโดรนแล้วสามารถบินในเพดานต่ำและที่แคบได้อย่างง่ายดาย และที่ตัวเครื่องก็มีการติดเซ็นเซอร์ตรวจวัดระยะทางกายภาพทำให้เข้าไปในที่แคบได้โดยที่ตัวเครื่องหรือใบพัดไม่สัมผัสสิ่งของ และกล้องอันยอดเยี่ยมที่มีกิมบอลติดตั้งอยู่ในตัวทำให้ถ่ายทำได้โดยไม่ต้องกลัวภาพสั่น
ข้อกำหนดการถ่ายทำทางอากาศด้วยโดรนในไทย
การจะนำโดรน 1 ตัวขึ้นบินนั้นมีเรื่องที่ต้องทำอยู่มากมาย และบริเวณสนามบิน (อาทิเช่น สนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินดอนเมือง) หรือวัด สวนสาธารณะ บริเวณอาคารส่วนราชการ มีกฎหมายห้ามนำเครื่องบินไร้คนขับ (โดรน) ขึ้นบินบัญญัติอยู่ในพระราชบัญญัติการเดินอากาศอยู่
สามารถตรวจสอบได้ใน https://www.dji.com/flysafe/geo-map
และในบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินดอนเมือง อยู่ในพื้นที่สีแดง และพื้นที่สีน้ำเงิน พื้นที่สีแดง คือ “Restricted Zones” ไม่สามารถนำโดรนขึ้นบินได้ ถึงจะนำโดรนขึ้นบินก็จะไม่สามารถควบคุมได้ นอกเหนือจากการทำเรื่องขออนุญาตก่อนแล้วจะไม่สามารถนำขึ้นบินได้เลย พื้นที่สีเทา คือ “altitude zone” เป็นพื้นที่ที่มีการควบคุมความสูง สีน้ำเงินนั้นเป็นพื้นที่ที่อนุญาตให้บินแต่มีการจำกัดเช่นกันมีกรณีที่ได้กล่าวไปในข้างต้น แต่ในไทยก็มีพื้นที่ที่จำเป็นต้องขออนุญาตก่อนการขึ้นบินอยู่เยอะกว่าที่คิดไว้ ในกรุงเทพนั้นการขออนุญาตขึ้นอยู่กับสถานที่ และ ชายหาดหรือเกาะที่มีชื่อเสียงในไทย หรือวัดต่าง ๆ นั้นถ้าไม่ได้รับอนุญาตก็ไม่สามารถนำขึ้นบินได้เช่นกัน มีผู้ที่นำขึ้นบินโดยที่เพิกเฉยต่อข้อกำหนดนั้นอยู่เช่นกัน แต่ขอแนะนำให้ขออนุญาตไว้เพื่อไม่ให้มีผลตามมาในภายหลัง
การจะนำโดรนขึ้นบินในไทย
ไทยนั้นเหมือนกับญี่ปุ่น กล่าวคือในการนำโดรนขึ้นบินนั้นจำเป็นต้องมีใบอนุญาตผู้บังคับโดรนเช่นกัน ผู้ที่ประสงค์อยากจะนำโดรนขึ้นบินในด้านธุรกิจหรือมาท่องเที่ยวแล้วอยากจะเก็บไว้เป็นความทรงจำ จะขออธิบายถึงข้อจำเป็นในการนำโดรนขึ้นบินในไทย
ก่อนอื่น การนำโดรนขึ้นบินในไทย จำเป็นต้องมีสามอย่างข้างล่างนี้
- การลงทะเบียนประกันภัยโดรน
- ขึ้นทะเบียนกับ กสทช.
- ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
นอกจากนั้นแล้ว ข้อมูลจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย การนำโดรนขึ้นบินโดยไม่มี 3 ส่วนข้างต้น จะผิดกฎหมายสืบเนื่องจากพระราชบัญญัติการเดินอากาศมาตราที่ 27 หรือมาตราที่ 78 “ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ข่าว ค่าปรับและโทษในอดีตที่เกี่ยวข้องกับโดรนที่เคยเกิดขึ้นในไทยนั้น ได้อธิบายอย่างละเอียดพร้อมตัวอย่างใน “หากนำโดรนขึ้นบินในไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตจะเป็นอย่างไร” แล้ว กรุณาอ่านควบคู่กันไปด้วย
โดรนที่จำเป็นต้องขึ้นทะเบียน
- โดรนสำหรับถ่ายทำที่มีกล้องติดอยู่นั้นจำเป็นต้องขึ้นทะเบียนทุกกรณี
- โดรนที่มีน้ำหนักต่ำกว่า 2 กิโลกรัมหรือไม่ใช่โดรนสำหรับถ่ายทำไม่จำเป็นต้องขึ้นทะเบียน
- โดรนที่มีน้ำหนักมากว่า 25 กิโลกรัมหากไม่มีใบอนุญาตจากกระทรวงคมนาคมจะไม่สามารถขึ้นทะเบียนได้
- อายุของอุปกรณ์ที่ขึ้นทะเบียนคือ 2 ปี
ขั้นตอนการลงทะเบียนโดรนโดยละเอียดกับ CAAT และ NBTC รวมถึงการซื้อประกันภัยโดรน
ขั้นตอนการทำเรื่องและเดินเรื่องเอกสารเพื่อทำการบินโดรนโดยละเอียดนั้น สามารถตรวจสอบได้ที่บทความ “ขั้นตอนการลงทะเบียนโดรนออนไลน์ที่ไทยแบบละเอียดทุกขั้นตอน ทั้งของใหม่และมือสอง“ได้ ซึ่งในบทความของเรานั้นไม่ได้มีระบุเพียงแค่โดรนมือหนึ่งเท่านั้น แต่ยังระบุวิธีการลงทะเบียนโดรนมือสองหรือโดรนที่ทำการเปลี่ยนเจ้าของไว้อีกด้วย
การยื่นขออนุญาตกับ CAAT / NBTC / ประกันภัยโดรน
การจะนำโดรนขึ้นบินในไทยนั้นถูกบังคับให้ยื่นเรื่องขออนุญาตกับ CAAT, NBTC รวมถึงต้องทำประกันภัยโดรนด้วย ตรงนี้จะขออธิบายเกี่ยวกับคำเหล่านี้
เกี่ยวกับ NBTC
NBTC (คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) เป็นหน่วยงานที่ทำการขึ้นทะเบียนโดรนและคอนโทรลเลอร์ มีเว็บบล็อกที่เขียนว่าไม่สามารถขึ้นทะเบียนออนไลน์ได้อยู่เยอะก็จริง แต่สามารถขึ้นทะเบียนออนไลน์ได้ แต่ว่าต้องเป็นโดรนที่ซื้อในไทยเท่านั้น และ การขึ้นทะเบียนกับ NBTC นั้นจำเป็นต้องมีเอกสารข้างต้น ดังนี้
- บัตรประชาชน
- หนังสือรับรองที่พักอาศัยในประเทศไทย
- รูปถ่ายที่มองเห็นหมายเลขซีเรียลของตัวเครื่องโดรนและคอนโทรลเลอร์
- รูปถ่ายตัวเครื่องโดรนที่ประสงค์จะขึ้นทะเบียน (มุมข้างหน้า ข้างหลัง บนล่างซ้ายขวา)
- เอกสารขึ้นทะเบียน NBTC
เกี่ยวกับอายุในการขึ้นทะเบียน โดยปกติแล้วจะคิดจากเวลาของวิซ่าเป็นเกณฑ์ เมื่อขึ้นทะเบียนเสร็จแล้วสามารถตรวจสอบได้บน เว็บเพจของ NBTC
เกี่ยวกับ CAAT
CAAT คือตัวย่อของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย CAAT จะออกใบอนุญาตบังคับโดรนที่จำเป็นต่อการนำโดรนขึ้นบินในไทย เช่นเดียวกับใบขับขี่ เพราะฉะนั้นการขึ้นทะเบียน NBTC และสมัครประกันภัยโดรนเพียงลำพังไม่สามารถนำโดรนขึ้นบินได้ จำเป็นต้องขึ้นทะเบียนกับ CAAT ด้วย
วิธีการขึ้นทะเบียนมี 2 แบบ ทั้งสองแบบเป็นการขึ้นทะเบียนแบบไม่มีค่าใช้จ่าย ใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์
- ไปขึ้นทะเบียนที่ CAAT
- ขึ้นทะเบียนบนเว็บ
ประกันโดรน
กรณีที่จะนำโดรนขึ้นบินในไทย จำเป็นต้องมีประกันโดรน ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการนำไปขึ้นทะเบียนกับ CAAT เพราะถ้าไม่มีประกันก็ไม่สามารถขึ้นทะเบียนได้ และ ต้องมีประกันในโดรนแต่ละเครื่อง โดยปกติแล้ว ไม่ว่าประกันบริษัทไหนก็ครอบคลุมวงเงินประกันถึง 1 ล้านบาท ซึ่งในไทยก็มีบริษัทประกันอยู่หลายแห่ง เชิญเลือกดูบริษัทที่จัดขายประกันอยู่ด้านล่างได้
ประกันภัยโดรนในไทย (รวมปี 2565) PDF ถ้าหากสนใจรายละเอียดกรุณาตรวจสอบ
ชื่อบริษัทประกัน | ค่าใช้จ่ายรายปี | ค่าประกัน (โดยประมาณ) |
---|---|---|
Mittare Insurance | 1,800 THB ~ | 1,100,000 THB~ |
Dhipaya Insurance | 649 THB ~ | 1,000,000 THB~ |
Purple Insurance | 619 THB ~ | 1,000,000 THB~ |
Dronethai Insurance | 3,000 THB ~ | 1,000,000 THB~ |
การขึ้นบินในบริเวณที่จำเป็นต้องทำเรื่องขออนุญาต อาทิเช่นบริเวณสนามบิน วัด อื่น ๆ
ถ้ายื่นเรื่องตามข้างบนผ่านก็สามารถนำขึ้นบินได้ แต่ต้องมีคำอนุญาตของเจ้าของพื้นที่ด้วย โดยเฉพาะบริเวณสนามบินหรือบริเวณเขตพระราชฐาน วัด รัฐสภา พื้นที่ส่วนบุคคลโดยปกติแล้วจำเป็นต้องขออนุญาต
กรณีที่ไม่มีคำขออนุญาต จะไม่สามารถนำขึ้นบินได้ และอาจจะไปกระทบต่อกฎหมายได้จึงขอแนะนำให้ทำการขออนุญาตก่อนนำขึ้นบินหากเป็นทะเลหรือภูเขา หรือพื้นที่ที่เครื่องบินไม่บินผ่านส่วนใหญ่จะนำขึ้นบินได้ไม่มีปัญหา แต่ก็มีพื้นที่เช่นชายหาดที่ไม่สามารถนำขึ้นบินได้ กรุณาทำตามกฎในพื้นที่ด้วย
ถ้างั้น ควรจะติดต่อไปที่ไหนดี?
การนำโดรนขึ้นบินในไทยจะขออนุญาตได้จากหน่วยงานข้างต้นนี้
- ติดต่อไปยังเจ้าของพื้นที่ที่จะถ่ายทำ
- ยื่นขออนุญาตกับ CAAT
ติดต่อไปยังเจ้าของพื้นที่ที่จะถ่ายทำ
จำเป็นต้องติดต่อไปยังเจ้าของพื้นที่หรือบริษัทที่ดูแลแล้วขออนุญาต
ยื่นขออนุญาตกับ CAAT
เตรียมเอกสารทั้งหมดด้านล่างนี้ในตอนที่จะขึ้นบิน (ทั้งหมดเป็นภาษาไทย) แล้วต้องติดต่อไปยัง CAAT (uav@caat.or.th)
- หนังสือการขึ้นทะเบียนผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน(ข้อมูลการขึ้นทะเบียนกับ CAAT)
- คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (ข้อมูลของเครื่องที่ขึ้นทะเบียนกับ NBTC)
- กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
- เอกสารที่เกี่ยวข้องกับวันถ่ายทำ (ได้รับมาจาก CAAT)
ยื่นเอกสารข้างต้นนี้กับ CAAT ประมาณสองสัปดาห์จะได้รับอนุญาตในการถ่ายทำ ถ้าตกลงกำหนดการถ่ายทำได้ไวแล้วก็จะสามารถเริ่มได้ไว
ข้อห้ามในการนำโดรนขึ้นบิน
ข้อห้ามในการนำโดรนขึ้นบินตามข้อตกลงเมื่อทำการขึ้นทะเบียนกับ CAAT
ในกรณีที่ฝ่าฝืนกฎ จาก “พระราชบัญญัติการเดินอากาศ” ข้อกำหนดซึ่งเกี่ยวข้องกับโดรนซึ่งประกาศในวันที่ 2 กรกฎาคม 2558 ได้ระบุโทษไว้ว่า “ระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท” และ กรณีที่ไม่ขึ้นทะเบียนกับ NBTC CAAT หรือประกันภัย จากมาตราข้างต้นนี้ รวมเป็น “ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 90,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
ข้อห้ามในการนำโดรนขึ้นบิน
(1) ก่อนทําการบิน
(ก) ตรวจสอบว่าอากาศยานอยู่ในสภาพที่สามารถทําการบินได้อย่างปลอดภัย ซึ่งรวมถึงตัวอากาศยานและระบบควบคุมอากาศยาน
(ค) ทําการศึกษาพื้นที่และชั้นของห้วงอากาศที่จะทําการบิน
(ง) มีแผนฉุกเฉิน รวมถึงแผนสําหรับกรณีเกิดอุบัติเหตุ การรักษาพยาบาล และการแก้ปัญหากรณีไม่สามารถบังคับอากาศยานได้
(2) ระหว่างทําการบิน
(ก) ห้ามทําการบินในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน และรบกวนความสงบสุขของบุคคลอื่น
(ข) ห้ามทําการบินเข้าไปในบริเวณเขตห้าม เขตจํากัด และเขตอันตรายตามที่ประกาศใน เอกสารแถลงข่าวการบินของประเทศไทย (Aeronautical Information Publication – Thailand หรือ AIP – Thailand) รวมทั้ง สถานที่ราชการ หน่วยงานของรัฐ โรงพยาบาล เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากหน่วยงานเจ้าของพื้นที่
(ค) แนวการบินขึ้นลงของอากาศยานจะต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง
(ง) ผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานต้องสามารถมองเห็นอากาศยานได้ตลอดเวลาที่ทําการบินและห้ามทําการบังคับอากาศยานโดยอาศัยชุดกล้องบนอากาศยานหรืออุปกรณ์อื่นที่มีลักษณะใกล้เคียง
(จ) ต้องทําการบินในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก ซึ่งสามารถมองเห็นอากาศยานได้อย่างชัดเจน
(ฉ) ห้ามทําการบินเข้าใกล้หรือเข้าไปในเมฆ
(ช) ห้ามทําการบินภายในระยะเก้ากิโลเมตร (ห้าไมล์ทะเล) จากสนามบินหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของหรือผู้ดําเนินการสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาต
(ซ) ห้ามทําการบินโดยใช้ความสูงเกินเก้าสิบเมตร (สามร้อยฟุต) เหนือพื้นดิน
(ฌ) ห้ามทําการบินเหนือเมือง หมู่บ้าน ชุมชน หรือพื้นที่ที่มีคนมาชุมนุมอยู่
(ญ) ห้ามบังคับอากาศยานเข้าใกล้อากาศยานซึ่งมีนักบิน
(ฎ) ห้ามทําการบินละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น
(ฏ) ห้ามทําการบินโดยก่อให้เกิดความเดือดร้อน ความรําคาญ แก่ผู้อื่น
(ฐ) ห้ามส่งหรือพาวัตถุอันตรายตามที่กําหนดในกฎกระทรวงหรืออุปกรณ์ปล่อยแสงเลเซอร์ติดไปกับอากาศยาน
(ฑ) ห้ามทําการบินโดยมีระยะห่างในแนวราบกับบุคคล ยานพาหนะ สิ่งก่อสร้าง หรืออาคาร น้อยกว่าสามสิบเมตร (หนึ่งร้อยฟุต)
พื้นที่ห้ามบินในกรุงเทพ/เขตห้ามบินโดรน
พื้นที่ข้างต้นนี้่ได้ถูกห้ามนำโดรนขึ้นบิน (อ้างอิง : https://www.caat.or.th)
- ท่าอากาศยานดอนเมือง (ドンムアン空港)
- กองพันทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์
- สวนรถไฟ(ワチラベンチャタート公園)
- สนามราชมังคลากีฬาสถาน(ラチャマンカラ国立競技場)
- สวนหลวงร.9(ラーマ9世公園)
- ป่าในกรุง(メトロフォレスト)
- สนามบินสุวรรณภูมิ(スワナプーム空港)
- ตลาดนัดรถไฟรัชดา(鉄道市場ラチャダー)
- เอสพลานาด รัชดาภิเษก(エスプラナード)
- อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ(戦勝記念塔駅)
- พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน(チットラダー宮殿)
- สะพานพระราม8(ラマ8世橋)
- ท่ามหาราช(ターマハラート)
- วันพระแก้วและเขตวังฯ(ワットプラケオ)
- วันอรุณราชวราราม(ワットアルン)
- สวนลุมพินี(ルンピニ公園)
- สวนเบญจกิตติ(ベンジャキティ公園)
- สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา(H.M. King IX Park)
ราคาค่าใช้จ่ายในการถ่ายวีดีโอ / ถ่ายภาพทางอากาศด้วยโดรน
หน้าข้างล่างนี้ เป็นค่าใช้จ่ายโดยคร่าวที่ทางเราได้เป็นตัวแทนในการถ่ายทำด้วยโดรนในไทย เป็นค่าใช้จ่ายโดนประมาณ ราคาจะเปลี่ยนไปตามสถานที่ถ่ายทำ เวลาถ่ายทำ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้ เกี่ยวกับการคำนวนโดยละเอียดกรุณาสอบถาม
- นักบินโดรนที่มีประสบการณ์สำหรับการถ่ายทำรายการ TV/PV
- ภายในเวลา 1 ชั่วโมง
- ไม่จำกัดจำนวนเที่ยวบินโดรนและการคัต
- ใช้ชุด DJI Mavic
- วิดีโอ 4K + ภาพนิ่ง 20 ล้านพิกเซล
- รวมค่าเดินทางในกรุงเทพเรียบร้อยแล้ว
- รวมประกันภัยความรับผิดต่อสาธารณะ (Liability insurance) 1 ล้านบาท
- ได้รับอนุญาตการบินจากสำนักงานการบินพลเรือน สังกัดกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยว
- นักบินโดรนที่มีประสบการณ์สำหรับการถ่ายทำรายการ TV/PV
- ภายในเวลา 2ชั่วโมง
- ไม่จำกัดจำนวนเที่ยวบินโดรนและการคัต
- ใช้ชุด DJI Mavic
- วิดีโอ 4K + ภาพนิ่ง 20 ล้านพิกเซล
- รวมค่าเดินทางในกรุงเทพเรียบร้อยแล้ว
- รวมประกันภัยความรับผิดต่อสาธารณะ (Liability insurance) 1 ล้านบาท
- ได้รับอนุญาตการบินจากสำนักงานการบินพลเรือน สังกัดกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยว
ลำดับขั้นตอนจนถึงการถ่ายทำด้วยโดรน
ลำดับขั้นตอนการถ่ายทำด้วยโดรนเป็นไปตามด้านล่างนี้ โดยรวมทั้งหมดจะสามารถส่งมอบสินค้าได้ภายใน 2 – 3 สัปดาห์ ทว่าหากเป็นกรณีเร่งด่วนก็สามารถตอบรับได้เช่นกัน กรุณาติดต่อสอบถามได้
- ประชุมหารือ : จะถ่ายวีดีโอ ภาพแบบไหนหรือรับฟังว่าจะนำไปใช้ในรูปแบบไหน
- ยื่นขออนุญาตนำโดรนขึ้นบิน : ขึ้นอยู่กับสถานที่ในการถ่ายทำอาจจะจำเป็นต้องยื่นขออนุญาตกับ CAAT หรือกองทัพอากาศของไทย
- ถ่ายทำ : เริ่มการถ่ายทำจริง อาจจะประเมินเวลาถ่ายทำได้ยากเนื่องจากพายุฝน
- ตัดต่อ : การตัดต่อเป็นออพชั่นเสริม สามารถทำการตัดต่อได้ทั้งภาพและวีดีโอ
- ตัวอย่างภาพ : ส่งมอบข้อมูลภาพหรือวีดีโอที่ถ่ายทำหรือตัดต่อเสร็จ
- ส่งมอบสินค้า : สามารถส่งมอบได้ผ่านอินเทอร์เน็ตหรือส่งเป็นข้อมูลทาง SD การ์ดได้
การติดต่อสอบถามการถ่ายวีดีโอ ภาพด้วยโดรน
การถ่ายทำด้วยโดรนในไทย (วีดีโอ คลิป ภาพเคลื่อนไหว) กรุณาติดต่อมายังทางเราได้ ทางเรามีทีมถ่ายทำในกรุงเทพ และสามารถไปถ่ายทำได้ทั่ว 77 จังหวัดของไทย
การสอบถามเกี่ยวกับโดรน สามารถกรอกในแบบสอบถามหรือสอบถามผ่านLINE OFFICIALได้